ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

การแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

การแก้ไขปัญหาพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพด
   จากการที่ใส่รสชาติใหม่ๆลงในน้ำนมข้าวโพด ทำให้รสชาติของน้ำนมข้าวโพดเสีย จึงได้เปลี่ยนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นการใส่ลูกเดือยแทน เนื่องจากการใส่ลูกเดือยไม่ทำให้รสชาติของน้ำนมข้าวโพดเสีย อีกทั้งยังเป็นธัญพืชที่มีประโยชนต่อร่างกายอีกด้วย
ประโยชน์ของลูกเดือย
     ส่วนประกอบของลูกเดือยมี โปรตีน 13.84% คาร์โบไฮเดรต 70.65% เยื่อใย 0.23% ไขมัน 5.03% แร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก มีอยู่ในปริมาณสูง รวมทั้งวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 โดยเฉพาะวิมามินบี 1 มีในปริมาณ มาก (มีมากกว่าข้าวกล้อง) ซึ่งช่วยแก้โรค เหน็บชาด้วยลูกเดือย ซึ่งมีรสจืดนั้นมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงกำลัง หล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงปอด ม้าม ตับ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ทางเดินหายใจ เหน็บชา แก้ปวดเข่า ปวดข้อ ไขข้ออักเสบ แก้ชักกระตุก บวมน้ำ ปอดอ่อนแอไอเป็นเลือด ฝีที่ลำไส้ แก้อาการ ตกขาวผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเส้นผมและผิวหนัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดการเกิดกระ รักษาโรคหูด ลดการ เกิดมะเร็ง เพราะมีสารคอกซีโนไลด์ (coxenolide)ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก
(เว็ปอ้างอิง :http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=17122)
ขั้นตอนในการทำน้ำนมข้าวโพดสูตรผสมลูกเดือย
1. เทลุกเดือยลงในภาชนะล้างให้สะอาด
2. นำลูกเดือยไปแช่ในน้ำเปล่าทิ้งไว้ 1 คืน
3. นำลูกเดือยตั้งไฟจนเดือด เคี่ยวลูกเดือยประมาณ 10 นาที
4. เทน้ำทิ้ง ล้างลูกเดือยให้สะอาด
5. ต้มลูกเดือยในน้ำใหม่ในปริมาณ 5 เท่าของลูกเดือย ใช้ไฟอ่อนทิ้งไว้ 30-40 นาที เพื่อให้ลูกเดือยนุ่ม
6. นำมาใส่ในน้ำนมข้าวโพด  สามารถดื่มได้ทั้ง ร้อนและเย็น

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปงานครั้งที่ 1

ปัญหาที่พบหลังจากการสร้างบรรจุภัณฑ์
1. การออกแบบ brand ยังไม่มีความเหมาะสม
2. หูหิ้วบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งมีความสูงเกินไป
3. รสชาติใหม่ของผลิตภัณฑ์คือรสสตอเบอรี่ ช๊อกโกแลต ทำให้รสชาติของน้ำนมข้าวโพดเปลี่ยนแปลง
4. บรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งยังไม่ค่อยกระชับขวดน้ำนมข้าวโพด
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ออกแบบ brand ผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง
2. ลดขนาดความสูงของบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งให้มีความกระทัดรัดมากขึ้นกว่าเดิม
3. หาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ไม่ทำลายรสชาติของน้ำนมข้าวโพด
4. วัดขนาดบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งให้กระชับมากกว่านี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ขวดบรรจุภัณฑ์เคลื่อนที่

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

สร้างบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 3 เพื่อการขนส่ง

แนวทางในการแก้ปัญหาบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 3
1.บรรจุภัณฑ์ไม่มีความสิ้นเปลืองเพื่อเป็นการประหยัดทุนแต่ตอบรับการใช้งานได้ดี
2.ถึงแม้เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นที่3แต่สามารถโชว์ตัวสินค้าได้
3.สามารถขนส่งได้สะดวก สามารถใช้ได้ในหลายโอกาส
 แบบที่ร่างไว้ โดยกำหนดขนาดให้เรียบร้อย
 ทดลองทำในโปรแกรม skecth up

สัปดาห์ 11, ส2. Resume สร้างสมมติฐานให้ปรากฏจากแบบร่างเป็นงาน Concept Rendering การสร้าง Label น้ำนมข้าวโพด

1.ใช้โปรแกรม Photoshop ในการสร้าง label โดยอ้างอิงขนาดจากต้นแบบขวดที่ได้ทำใน sketch up
 2.Label ที่สำเร็จทั้ง 3 แบบ

3.ทดลองไปใส่บนบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 แบบในskecth up เพื่อดูความเหมาะสม

เรื่องการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพด

     เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับตัวผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพด จึงทดลองสร้างกลิ่นใหม่เพื่อสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นการต่อยอดความคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ในโอกาสต่อไป
1. รสสตอเบอรี่ มีความหวานหอมและเพิ่มสีชมพูอ่อนๆให้กับน้ำนมข้าวโพด
2.รสช๊อกโกแลต เพิ่มความมัน กลมกล่อม และความเข้มข้น ให้กับน้ำนมข้าวโพด
3.งาดำ เพิ่มความหอมให้กับน้ำนมข้าวโพด อีกทั้งงาดำยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง และยังมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย และวิตามินอีเป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง



สัปดาห์ที่ 10 เริ่มงาน design ตามขั้นตอน 3ส : 3R

เมื่อได้วิเคราะห์วัดสินค้าปัญหาสินค้าต้นแบบแล้วก็ทำการแก้ไข ออกแบบ
1.ทดลองสร้างต้นแบบสินค้าจากโปรแกรม sketch up สร้าง 3 ตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์และเลือกแบบแบบเหมาะสมที่สุด

แบบที่1 มีความสวยงาม น่าสนใจแต่ส่วนกลางของขวดมีส่วนโค้ง ทำให้มีปัญหาการติดฉลาก เพราะเราไม่ได้ใช้ความร้อนในการติดฉลากเหมือนโรงงาน








แบบที่ 2 มีความเหมาะสมในการใช้งาน เนื่องจากรอบวงขวดกว้าง จากภายนอกจะดูเหมือนมีปริมาณมากกว่า แบบอื่นๆ แต่ความจริงแล้วมีปริมาตรเท่ากัน แต่ไม่ค่อยมีความสวยงามเท่าไหร่นัก










แบบที่ 3 มีความน่าสนใจเช่นกัน ขวดมีความสวยงาม ถึงแม้ตัวขวดจะมีลายหยัก แต่ก็ไม่มีปัญหาในการติดฉลากเพราะอยู่คนละส่วนกัน 










สรุปงานขั้นตอนการเลือกแบบ ใช้แบบที่3 เพราะขวดมีความสวยงามและไม่มีปัญหาในการติดฉลาก
2. ออกแบบโลโก้สินค้า







2.1 ได้แรงบรรดาลใจจากเมล็ดข้าวโพด ที่มีลักษณะและสีสันเฉพาะตัว จึงน่าสนใจ















 2.2 ได้แรงบรรดาลใจมาจาก ลวดลายด้านของการเรียงตัวของเมล็ดข้าวโพดบนฝัก












2.3 ได้แรงบรรดาลใจจากฝักข้าวโพดที่แกะเปลือกออกมาเผยให้เห็นเมล็ดข้าวโพดที่อยู่ด้านใน









สรุปการเลือกแบบโลโก้ใช้แบบที่3เพราะมีความลงตัวสื่อให้เห็นข้าวโพดและดูเป็นข้าวโพดที่น่าสนใจ

สัปดาห์ที่ 9 เริ่มงานออกแบบส่วนบุคคลโครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน

เริ่มงานส.1 สืบค้นหาผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ มาวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้เลือกมาคือ น้ำนมข้าวโพด Tastee

สรุปการแก้ไขด้านโครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า
ชื่อสินค้า  TASTEE อ่านว่า เทสตี้
ประเภท   เครื่องดื่ม Pasteurized juice
สถานะ     ของเหลว
วัสดุหลัก   ข้าวโพดหวาน
สี    สีเหลืองนวล
ขนาด/มิติ ขวด 3.5x4x16 cm
น้ำหนัก 200มล.ขวด
ที่อยู่/โทรศัพท์   ไม่ระบุ
วัสดุประกอบร่วมในตัวสินค้า/ส่วนผสม ไม่ระบุ
ธรรมชาติการวางขาย/รูปแบบขยาย ตั้งบูทขาย
ราคา 15  บาท     

โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
ใช้เทคนิค/วิธีการ/การบรรจุสินค้า บรรจุขวด
บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกใช้วัสดุ ขวดพลาสติก
บรรจุภัณฑ์ชั้น 2 ใช้วัสดุ  ถุงหิ้ว T-Shirt
การขึ้นรูปทรง  ขวดขึ้นรูปสำเร็จ
การออกแบบกราฟฟิก
ภาพประกอบ ตราสัญลักษณ์ข้าวโพด
ลวดลายเฉพาะ กรอบเส้นสีเขียว บนพื้นสีขาว
ข้อความ เครื่องดื่มข้าวโพดหวาน
โลโก้ชื่อสินค้า เป็นตัวหนังสือฟรอนท์ธรรมดา
โลโก้ชื่อผู้ผลิต ไม่ระบุ
ปัญหาที่พบด้านโครงสร้างวัสดุบรรจุภัณฑ์ทั่วไป
บรรจุภัณฑ์มีสีขุ่นทำให้ไม่เห็นสีสันของผลิตภัณฑ์ชัดเจน ทั้งที่สีของผลิตภัณฑ์น่ารับประทาน สีของผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความสนใจจากลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อได้
รายละเอียดสินค้าน้อยเกินไป  ควรจะมีรายละเอียดสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า วันเดือนปีที่ผลิตเครื่องหมายต่างๆไม่ครบและไม่มีความชัดเจน รอยหยักข้างขวดเป็นปัญหาในการติดฉลากสินค้าเพราะขวดมีขนาดเล็กอยู่แล้วทำให้พื้นที่ในการติดฉลากน้อย ทำให้ใส่รายละเอียดผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วน
แนวทางการแก้ปัญหาบรรจุภัณฑ์
                เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกใสเพื่อจะได้เห็นสีสันผลิตภัณฑ์ชัดเจน และการที่มองเห็นปริมาณของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความสนใจให้แก่ลูกค้า
                เพิ่มรายละเอียดสินค้าบนฉลาก รายละเอียดสินค้าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า และการตัดสินใจซื้อ
                ลดรายละเอียดของขวดลงเพื่อที่จะสามารถเพิ่มพื้นที่ฉลากที่จะใส่รายละเอียดสินค้า และตัวหนังสือจะได้ใหญ่ขึ้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน